“เศษเหล็ก”
ตอนนั้นผมกำลังทำงานอยู่ในสภาพจิตใจที่แย่มากมันไม่มีกำลังใจจะทำอะไร
ท้อแท้กับงานมากไม่มีใครเข้าใจ
" เหมือนทำดีแต่ไม่ได้ดี"
ในหลวงท่านทรงเสด็จมาพอดี และท่านได้เห็นสีหน้าผมไม่สู้จะดี
ท่านได้สอบถามจนได้ความว่าผมกำลัง ท้อแท้กับงาน
ท่านจึงตั้งคำถาม และรับสั่งว่า.....
“ท่านสุเมธเคยขาย เศษเหล็กไหม เศษเหล็กเหล่านั้น เวลาขาย คุณค่ามันต่ำมาก
ใช่ไหม คงได้เงินมาไม่กี่บาทใช่ไหม?
แล้วถ้าเราเอาเศษเหล็กเหล่านั้นมาหลอมรวมกันเป็นแท่ง
เวลาหลอมนี่ เหล็กมันคงรู้สึกร้อนมากใช่ไหม?
พอหลอมเสร็จเรานำ มาทำเป็นดาบ คงต้องนำมาตีให้แบนอีกใช่ไหม?
เวลาตีก็ต้องคอยเอาไปเผาไปด้วย ต้อง ตีไป เผาไป อยู่หลายรอบ
จนกว่าเป็นรูปเป็นร่างดาบอย่างที่เราต้องการ
ต้องผ่านความเจ็บปวดร้อนอยู่นานแถมเมื่อเสร็จแล้วถ้าจะให้สวยงามดังใจ
ก็ต้องนำไปแกะลวดลายอีกใช่ไหม?
เวลาที่แกะลวดลายก็คงต้องใช้ของแข็งมีคมมาตีให้เป็นลวดลายอีก
แต่เมื่อเสร็จเป็นดาบที่งดงามก็จะมีคุณค่าที่สูงมาก เทียบกับเศษเหล็กคงจะต่างกันลิบลับ...
จะเห็นว่ากว่าที่เศษเหล็กไม่มีคุณค่ามากนัก จะกลายเป็นดาบอันงดงามนั้น
ต้องผ่านอุปสรรคมามากมาย
ทั้งความเจ็บปวดต่างๆ กว่าจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นขอให้จำไว้อย่างหนึ่งว่า ...”
"ใครไม่เคยถูกตีถูกทุบ เจอเรื่องเลวร้ายในชีวิตมาเลยนั้น
จงอย่าได้คิดทำการใหญ่"
ที่มา : พระราชดำรัสบทนี้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสให้กับ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น